1.
ด้านการพัฒนาองค์กร -
จัดวางระบบการบริหารจัดการองค์กรตามหลักธรรมาภิบาล
เน้นการตรวจสอบ
การมีส่วนร่วมในการพัฒนาองค์กรแบบไตรภาคี
ศิษย์เก่า คณาจารย์ ศิษย์ปัจจุบัน -
สร้างเครือข่ายเพื่อพัฒนาองค์กรและเสริมสร้างความสามารถของเจ้าหน้าที่ในการปฏิบัติงานด้วยระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ 2.
ด้านการวิจัย -
สนับสนุนและส่งเสริมการทำวิจัยของคณาจารย์
โดยการหาทุนสนับสนุนเพื่อทำวิจัยทั้งจากภายใน
ภายนอก และต่างประเทศ -
สร้างเครือข่ายภาคีวิจัยระหว่างองค์กร
เพื่อพัฒนางานวิจัยเข้าสู่ระดับสากล -
เน้นการสร้างนวัตกรรมทางด้านหลักสูตร
การเรียนการสอน การวัดผลประเมินผล
จากการทำวิจัย
และนำไปตีพิมพ์เผยแพร่แก่สาธารณชน 3.
ด้านการจัดการเรียนการสอน -
เน้นการผลิตบัณฑิตให้มีความรู้คู่คุณธรรม
สร้างเสริมทักษะทางด้านวิชาการและวิชาชีพครู -
จัดให้มีการแลกเปลี่ยนนักศึกษาเพื่อการเรียนรู้
การอาชีพ
และวัฒนธรรมกับนักศึกษาในกลุ่มประเทศอาเซียน -
เพิ่มขีดความสามารถด้านการแข่งขันของนักศึกษาด้วยการจัดการเรียนการสอนแบบ
Project-based learning, Problem-based
learning, และ Brain-based
learning - พัฒนาศักยภาพด้านความรู้
และบุคลิกภาพของนักศึกษาด้วยภาษาต่างประเทศ
เทคโนโลยีสารสนเทศ
และงานวิจัยในชั้นเรียน -
เสริมสร้างระบบคุณธรรมและค่านิยมโดยใช้กิจกรรมเชิงประจักษ์ 4.
ด้านการพัฒนาคณาจารย์ -เน้นการประสานงาน
ความร่วมมือระหว่างคณาจารย์และบุคลากรด้วยการดำเนินงานแบบ
Team-based approach -
ส่งเสริมการพัฒนาคณาจารย์และบุคลากรให้มีการทำผลงานทางวิชาการ
ศึกษาต่อ ตลอดจนการฝึกอบรมทั้งภายใน
ภายนอกมหาวิทยาลัย -
พัฒนาศักยภาพคณาจารย์และบุคลากรให้มีความรู้และความสามารถด้านภาษาต่างประเทศ
และเทคโนโลยีสารสนเทศ -
มุ่งพัฒนาคณาจารย์และบุคลากรแบบมีเงื่อนไขโดยกำหนดให้คณาจารย์สามารถสร้างนวัตกรรมทางด้านวิชาการตามความถนัด
และบุคลากรสามารถปฏิบัติงานจนเป็นตัวอย่างที่ดีได้
(best practice) -
ส่งเสริมความรู้ความเข้าใจด้านคุณธรรม
จริยธรรม
การเสริมสร้างบุคลิกภาพเพื่อความเป็นครูมืออาชีพแบบเพื่อนช่วยเพื่อน 5.
ด้านความสัมพันธ์กับต่างประเทศ -
ประสานความร่วมมือกับมหาวิทยาลัยในและนอกประชาคมอาเซียน
เพื่อยกระดับการพัฒนางานวิจัย -
สร้างความสัมพันธ์กับมหาวิทยาลัยในประชาคมอาเซียนให้มีการทำงานวิชาการ
งานวิจัย
หรืองานบริการวิชาการร่วมกัน -
สนันสนุนให้มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ทางด้านภาษา
วัฒนธรรม
งานวิชาการกับคณาจารย์และนักศึกษาในประชาคมอาเซียน 6.
ด้านการบริการวิชาการ -
จัดให้มีการจัดทำแผนบริการวิชาการทั้งระยะสั้นและระยะยาว
เผยแพร่ออกสู่สาธารณชนทั้งแบบให้เปล่าและแบบหารายได้เข้าคณะ -
เน้นการบริการวิชาการที่มาจากงานวิจัยของคณาจารย์
และการสร้างองค์ความรู้จากประสบการณ์การสอน -
เน้นการสร้างรายได้จากการผลิตตำราทางวิชาการและการบริการวิชาการ 7.
ด้านทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม -
สืบสานมรดกทางวัฒนธรรมของสวนสุนันทาในการผลิตครูให้มีภูมิรู้แบบมืออาชีพ
ผสมผสานกับคุณธรรม
ค่านิยมของสวนสุนันทา -
สนันสนุนให้มีการใช้ความรู้จากโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริมาจัดเป็นกิจกรรมทั้งในและนอกหลักสูตรให้กับนักศึกษา -
เน้นการจัดทำข้อมูลฐานความรู้ด้านภูมิปัญญาท้องถิ่นที่เกี่ยวกับการศึกษาเพื่อการสืบค้นของคณาจารย์
นักศึกษา
บุคลากรและสาธารณชนทั่วไป อำนาจและหน้าที่ของมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา
อาศัยอำนาจและหน้าที่ตามพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยราชภัฏ
พ.ศ. ๒๕๔๗ ตามความในหมวด ๑ บททั่วไป มาตรา
๗
ให้มหาวิทยาลัยเป็นสถาบันอุดมศึกษาเพื่อการพัฒนาท้องถิ่นที่เสริมสร้างพลังปัญญาของแผ่นดิน
ฟื้นฟูพลังการเรียนรู้
เชิดชูภูมิปัญญาของท้องถิ่น
สร้างสรรค์ศิลปวิทยา
เพื่อความเจริญก้าวหน้าอย่างมั่นคงและยั่งยืนของปวงชน
มีส่วนร่วมในการจัดการ การบำรุงรักษา
การใช้ประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมอย่างสมดุลและยั่งยืน
โดยมีวัตถุประสงค์ให้การศึกษา
ส่งเสริมวิชาการและวิชาชีพชั้นสูง
ทำการสอน วิจัย
ให้บริการทางวิชาการแก่สังคม ปรับปรุง
ถ่ายทอด และพัฒนาเทคโนโลยี
ทะนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรม
ผลิตครูและส่งเสริมวิทยฐานะครู มาตรา ๘
ในการดำเนินงานเพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ตามมาตรา
๗ ให้กำหนดภาระหน้าที่ของมหาวิทยาลัย
ดังต่อไปนี้
(๑)
แสวงหาความจริงเพื่อสู่ความเป็นเลิศทางวิชาการ
บนพื้นฐานของภูมิปัญญาท้องถิ่น
ภูมิปัญญาไทย และภูมิปัญญาสากล
(๒)
ผลิตบัณฑิตที่มีความรู้คู่คุณธรรม
สำนึกในความเป็นไทย
มีความรักและผูกพันต่อท้องถิ่น
อีกทั้งส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิตในชุมชน
เพื่อช่วยให้คนในท้องถิ่นรู้เท่าทันการเปลี่ยนแปลง
การผลิตบัณฑิตดังกล่าว
จะต้องให้มีจำนวนและคุณภาพสอดคล้องกับแผนการผลิตบัณฑิตของประเทศ
(๓)
เสริมสร้างความรู้ความเข้าใจในคุณค่า
ความสำนึก
และความภูมิใจในวัฒนธรรมของท้องถิ่นและของชาต
(๔)
เรียนรู้และเสริมสร้างความเข้มแข็งของผู้นำชุมชน
ผู้นำศาสนาและนักการเมืองท้องถิ่นให้มีจิตสำนึกประชาธิปไตย
คุณธรรม จริยธรรม
และความสามารถในการบริหารงานพัฒนาชุมชนและท้องถิ่นเพื่อประโยชน์ของส่วนรวม
(๕)
เสริมสร้างความเข้มแข็งของวิชาชีพครู
ผลิตและพัฒนาครูและบุคลากรทางการศึกษาให้มีคุณภาพและมาตรฐานที่เหมาะสมกับการเป็นวิชาชีพชั้นสูง
(๖)
ประสานความร่วมมือและช่วยเหลือเกื้อกูลกันระหว่างมหาวิทยาลัย
ชุมชน
องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและองค์กรอื่นทั้งในและต่างประเทศ
เพื่อการพัฒนาท้องถิ่น
(๗)
ศึกษาและแสวงหาแนวทางพัฒนาเทคโนโลยีพื้นบ้านและเทคโนโลยีสมัยใหม่ให้เหมาะสมกับการดำรงชีวิตและการประกอบอาชีพของคนในท้องถิ่น
รวมถึงการแสวงหาแนวทาง
เพื่อส่งเสริมให้เกิดการจัดการ
การบำรุงรักษา
และการใช้ประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมอย่างสมดุลและยั่งยืน
(๘) ศึกษา วิจัย
ส่งเสริมและสืบสานโครงการอันเนื่องมาจากแนวพระราชดำริในการปฏิบัติภารกิจของมหาวิทยาลัยเพื่อการพัฒนาท้องถิ่น
นอกเหนือจากอํานาจหน้าที่และความรับผิดชอบดังกล่าวที่จะต้องดําเนินการแล้ว
มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทามีบทบาทอํานาจหน้าที่และความรับผิดชอบที่จะต้องดําเนินการให้เป็นไปตามพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา
พ.ศ. 2547 และฉบับแก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่
2) พ.ศ. 2551 ตลอดจนกฎ ก.พ.อ. ประกาศ
ก.พ.อ. และกฎหมายอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง
ที่มีผลบังคับใช้แล้ว